วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 5สรุปและอภิปรายผลการดำเนินงาน

บทที่ 5

สรุปและอภิปรายผลการดำเนินงาน

สรุปผล
โคมไฟ้พลังงานแสงอาทิตย์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานการพัฒนาโปรแกรมนี้ ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานและเป็นการประหยัดพลังงานทั้งนำมาใช้ในการประกอบอาชีพให้สอดคล้องในความต้องการในยุคปัจจุบันคือ สะดวก ประหยัดและง่ายต่อการประกอบอาชีพ ซึ่งโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจเพื่องานอาชีพได้ถูกจัดทำขึ้นมา
จากผลการทดสอบโคมไฟ้พลังงานแสงอาทิตย์ วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ พบว่าโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพดีสามารถนำมาใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และผู้ประกอบอาชีพสามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวันได้ เป็นโคมไฟที่ให้ความสะดวกสบายประหยัดพลังงานและในปัจจุบันและสามารถใช้โคมไฟ้พลังงานแสงอาทิตย์แทนไฟฟ้าได้ด้วย

ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทำโคมไฟ้พลังงานแสงอาทิตย์มีดังต่อไปนี้
1. ปัญหาในการทำโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ ผู้จัดทำยังขาดความรู้ ความชำนาญ และ ทักษะในการทำโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้การทำโคมไฟเกิดความล้าช้า
2. การทำโคมไฟมีปัญหาในเรื่องแผงวงจรที่ไม่สามรถทำงานได้อย่างตามเป้าหมาย
3. เวลาทำงานเสร็จแล้ว งานที่ทำในแต่ละครั้งก็มีข้อผิดพลาดและต้องกลับไปแก้ไขงานใหม่อีกครั้ง จึงเป็นปัญหาในการทำงานทำให้เสียเวลาในการทำงานอีกจึงทำให้งานที่ทำแต่ละครั้งช้า
4. วงจรมีปัญหาตอนทดสอบทำให้เสียเวลามาตรวจสอบแก้ไขข้อผิดพลาด
5. ตอนปรึกษางานกันก็เกิดความคิดเห็นไม่ตรงกันบ้างในบางครั้ง



ข้อเสนอแนะ
1. เนื่องจากโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ สาขางานวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจเพื่องานอาชีพ ไม่สามารถจะทำแผงวงจรที่แน่นอนได้จึงต้องให้มีผู้สนใจและมีความรู้ความสามารถ ได้เข้ามาศึกษาจนอาจจะเห็นข้อบกพร่องของการโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจเพื่องานอาชีพ และนำไปปรับปรุง เนื้อหาที่เก่าให้ใหม่ขึ้นมา
2. ควรมีการทำให้โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์มีการใช้งานที่ประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม


บทที่3 วิธีดำเนินการโครงงาน


บทที่ 3

วิธีดำเนินการโครงงาน

การจัดทำโครงงานโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผู้จัดทำโครงงานจัดทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานและเพื่อให้ผู้ใช้งานได้ใช้ประโยชน์จากการใช้งานและโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้งานได้จริงซึ่งมีวิธีดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ
3. ดำเนินการออกแบบ
4. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
5. ทดสอบและปรับปรุง
6. การประเมินโครงงาน
7. นำเสนอโครงงาน

1. ศึกษาเอกสารและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ เป็นการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell หรือ Photovoltaic) ซึ่งถูกผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2426 โดย ชาร์ล ฟริทท์ โดยใช้ธาตุ ซีลีเนียมในปี พ.ศ. 2484 เป็นการเริ่มต้นของการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยธาตุ ซิลิกอน โมเลกุลเดี่ยว ด้วยต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง การใช้งานของแผงเซลแสงอาทิตย์ในช่วงแรก เน้นไปที่การใช้งานในอวกาศ เช่น ใช้กับดาวเทียม หลังจากประสบกับปัญหาน้ำมันแพง ใน พ.ศ. 2516 และ 2522 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจึงหันมาให้ความสนใจในพลังงานแสงอาทิตย์และเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงจังมากขึ้น หลังจากการตีพิมพ์ข้อมูลโลกร้อนของ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มีปริมาณเพิ่มขี้น 10-20% ทุกปี ในประเทศไทยการติดตั้งยังมีอยู่น้อย

ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ
การจัดทำโครงงานโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาหลักการและแนวทางในการออกแบบ

ศึกษาหลักการ
การจัดทำโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาหลักการจัดทำโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งมีหลักการทำงาน วัสดุอุปกรณ์และวิธีทำดังนี้
หลักการทำงานของโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
เมื่อโคมไฟฟ้าได้รับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แล้วพลังงานที่ได้จะถูกเก็บไปไว้ที่แบตเตอร์รี่โดยผ่านทางวงจรอิเล็กทรอนิกส์เมื่อผู้ใช้จะใช้งานก็ไปเปิดที่สวิทต์แล้วแสงสว่างก็จะออกมา

วัสดุอุปกรณ์
1. หัวโคมไฟฟ้า 1 หัว
2. แผงจงจร 1 อัน
3. กล่องบรรจุพร้อมแบตเตอร์รี่ 1 กล่อง
4. กระถางต้นไม้ 1 กระถาง
5. กล่องปิดแผงวงจร 1 กล่อง
6. หลอดไฟ 1 หลอด
7. เสา 1 ต้น
8. แผงโซลาเซลล์ 1 แผง
9. น๊อตสำหรับยึดระหว่างเสากับหัวโคมไฟ 10 ตัว
10. อุปกรณ์ตกแต่ง 20 ตัว
วิธีทำ
1. เตรียมอุปกรณ์ในการทำโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
2. นำแผงวงจรมาเชื่อมต่อกับหลอดไฟฟ้าและกล่องควบคุมการเก็บแบตเตอร์รี่
3. นำแผงโซลาเซลล์มาติดกับด้านหัวที่รับแสงของโคมไฟ
4. นำสวิทต์มาติดกับโคมไฟ
5. นำตัวครอบของโคมไฟมาครอบหลอดไฟไว้
6. นำโคมไฟฟ้าที่ได้มาติดกับเสาแล้วนำมาปักที่กระถางต้นไม้
7. นำอุปกรณ์ตกแต่งมาตกแต่งโคมไฟฟ้าให้สวยงาม
8. นำโคมไฟฟ้ามาทดลองใช้งาน
9. นำกล่องมาปิดแผงวงจรเพื่อไม่ไห้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน
แนวทางในการออกแบบของโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้วางแผนดังนี้
1. ใช้ตัวครอบด้านบนของหลอดไฟฟ้าขนาด 30*30 cm.
2. ใช้แผงโซลาเซลล์ในการรับความร้อน 1 แผง
3. ใช้แผงวงจรควบคุมการทำงานและกล่องแบตเตอร์รี่เพื่อควบคุมการเก็บพลังงาน
4. ใช้สวิตซ์ในการปิด-เปิด
5. ใช้กระถางต้นไม้เพื่อเป็นฐานของโคมไฟ
6. ใช้อุปกรณ์ตกแต่งเพื่อความสวยงามของโคมไฟ

2. ดำเนินการออกแบบ




รูปภาพที่ 3.1 แสดงรูปด้านหน้าของโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์


รูปภาพที่ 3.2 แสดงรูปทางด้านบนของโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์


รูปภาพที่ 3.3 แสดงรูปทางด้านข้างขวาของโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์


รูปภาพที่ 3.4 แสดงรูปทางด้านหลังของโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
3. ปฏิบัติการสร้างโครงงาน

1. เตรียมอุปกรณ์ในการทำโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์













รูปภาพที่ 3.5 แสดงเตรียมอุปกรณ์ในการทำโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์


2. นำแผงวงจรมาเชื่อมต่อกับหลอดไฟฟ้าและกล่องควบคุมการเก็บแบตเตอร์รี่


รูปภาพที่ 3.6 แสดงนำแผงวงจรมาเชื่อมต่อกับหลอดไฟฟ้าและกล่องควบคุมการเก็บแบตเตอร์รี่


3. นำแผงโซลาเซลล์มาติดกับด้านหัวที่รับแสงของโคมไฟ




รูปภาพที่ 3.7 แสดงนำแผงโซลาเซลล์มาติดกับด้านหัวที่รับแสงของโคมไฟ


4. นำแบตเตอร์รี่มาติดกับโคมไฟโดยการนำเอาสก๊อตเทปใสมาพันติดไว้



รูปภาพที่ 3.8 แสดงนำแบตเตอร์รี่มาติดกับโคมไฟโดยการนำเอาสก๊อตเทปใสมาพันติดไว้


5. นำตัวครอบของโคมไฟมาครอบหลอดไฟไว้



รูปภาพที่ 3.9นำตัวครอบของโคมไฟมาครอบหลอดไฟไว้


6. นำอุปกรณ์ตกแต่งมาตกแต่งตัวฐานโคมไฟฟ้าให้สวยงาม




รูปภาพที่ 3.10 แสดงนำอุปกรณ์ตกแต่งมาตกแต่งตัวฐานโคมไฟฟ้าให้สวยงาม



7. นำโคมไฟฟ้าที่ได้มาติดกับเสาแล้วนำมาปักที่กระถางต้นไม้




รูปภาพที่ 3.11 แสดงนำโคมไฟฟ้าที่ได้มาติดกับเสาแล้วนำมาปักที่กระถางต้นไม้


8. นำโคมไฟฟ้ามาทดลองใช้งาน









รูปภาพที่ 3.12 แสดงนำโคมไฟฟ้ามาทดลองใช้งาน


9. นำกล่องมาปิดแผงวงจรเพื่อไม่ไห้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน




รูปภาพที่ 3.13 แสดงนำกล่องมาปิดแผงวงจรเพื่อไม่ไห้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน


10. นำอุปกรณ์ตกแต่งมาตกแต่งโคมไฟฟ้าให้สวยงาม












รูปภาพที่ 3.14 แสดงนำอุปกรณ์ตกแต่งมาตกแต่งโคมไฟฟ้าให้สวยงาม

4. ทดสอบและปรับปรุงโครงงาน
ทดสอบ
1. ความแข็งแรงฐานโคมไฟ
2. ขนาดหลอดไฟ

ปรับปรุง
1. จากการทดสอบความแข็งแรงของฐานโคมไฟ ทำให้ทราบว่า ฐานโคมไฟที่ทำจากไม้ไผ่ไม่มีความแข็งแรง ทนทาน และไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศ และเสี่ยงต่อการกัดแทะจากแมลง และไม่ไผ่ถ้าโดนความชื้นมาก ๆ จะสามารถออกราได้ จึงทำการปรับเปลี่ยนฐานให้เป็นกระถางดินเผา
2. จากการทดสอบขนาดหลอดไฟทำให้ทราบว่า การใช้หลอดไฟตะเกียบ ขนาด 8 โวลล์ ทำให้ การเก็บพลังไม่เพียงพอ จึงทำการปรับเปลี่ยนเป็น หลอดไฟ LED

6. การประเมินโครงงาน
ในการทำโครงงานได้ใช้แบบประเมินโครงการดังนี้
1. แบบประเมินขณะทำโครงการ
2. แบบประเมินนำเสนอผลงาน
3. แบบประเมินผลงานโดยรวม
4. แบบประเมินการเขียนและนำเสนอเค้าโครงโครงงาน
5. แบบประเมินรูปเล่มรายงาน
6. แบบประเมินการแก้ไขโครงงาน
7. แบบสรุปคะแนนรวม
8. แบบประเมินการจัดแสดงโครงงาน






7. นำเสนอโครงงาน
วันพฤหัสบดี ที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รูปภาพที 3.15 แสดงการนำเสนอผลงานครั้งที่ 1

วันที่ 3 สิงหาคม 2553


รูปภาพที่3.16แสดงการนำเสนอผลงานครั้งที่2

วันอังคารที่ 24 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2553



รูปภาพที่3.16แสดงการนำเสนอผลงานครั้งที่3

วันพฤหัสบดี ที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2533



รูปภาพที่ 3.19 ภาพแสดงนำเสนอใบงานในบทที่ 1 และ 2

บทที่2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของสิ่งประดิษฐ์
              เราสามารถแบ่งการประดิษฐ์ออกเป็น 3 ช่วงตามเวลา และอุปกรณ์การประดิษฐ์
              ยุคต้น (ก่อนคริสศักราชถึงต้นปี500) มนุษย์เรียนรู้การใช้ไฟและในการหลอมโลหะ ตีอุปกรณ์ ทำแก้ว ยุคนี้เป็นยุคเฟื่องฟูของศาสนาและการทำมาค้าขาย ในยุคที่มีการแบ่งชนชั้นมากเช่นนี้ ผู้คนจำเป็นต้องมี การนำของไปถวายหรือบูชา ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาหรือว่าการบูชาทำนาย ทำให้มีการทำเหมืองแบบเก่าเป็นจำนวนมาก เพื่อขุดทอง เงินและทองแดง ในการทำเครื่องประดับต่างๆ นอกจากนี้เรื่องของเครื่องแต่งการยังเป็นยุคที่เฟื่องฟูอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้คนรู้จักการย้อมผ้าและ แล้วทักยอแบบหยาบๆ แล้ว โดยอาศัยตัวไหมและยางจากต้นไม้ ในทางเขตยุโรปผู้คนนิยมทำเครื่องเกราะ ดาบ เครื่องเงิน มงกุฎและอุตสาหกรรมต่อเรือยังเป็นอะไรที่เฟื่องฟูอีกด้วย ผู้คนนิยมเดินทาง โดยเฉพาะฝรั่งเศสและ อังกฤษที่ชอบล่าเมืองขึ้น และบ้านยังเป็นแบบไม้ชั้นเดียวที่ต้องแน่นหนา การประดิษฐ์เป็นแบบพื้นๆแล้วศิลปะมากกว่าทางเอเชียหรือแอฟริกา ทางเอเชีย การประดิษฐ์ไม่ค่อยเป็นที่ใส่ใจเท่าไหร่ บ้านยังเป็นแบบเก่าที่ทำจากไม้ ผู้คนจะนิยมค้าขายอาหารกิจกรรมทางศาสนามากกว่า เช่นเดียวกับแอฟริกาที่การประดิษฐ์ไม่ค่อยเจริญเทียบเท่าแถบยุโรป
            ยุครุ่งเรือง(ช่วงกลาง 500-1350)นักประดิษฐ์ทางยุโรปเริ่มรู้จักการใช้ไฟฟ้า อาชิพนักวิทยาศาสตร์ เจริญมาก ทำให้การประดิษฐ์ก้าวหน้าไปด้วย มีการค้นพบคุณสมบัติของไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ทำให้มีการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆมากมาย เช่นการค้นพบคลื่นวิทยุ มอเตอร์ สนามพลัง ทำให้มีการสร้างรถยนต์ หลอดไฟ วิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งของลิเล็กทรอนิกส์อีกมากมาย เมื่อเทียบกับทางแถบแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งทางเอเชียได้รับอิทธิพลจากทางแถบยุโรป ทำให้เจริญตามด้วย แต่ไม่มีเรื่องของการประดิษฐ์ แต่จะเป็นผู้บริโภค ทางแถบอเมริกา เริ่มมีคนย้ายเข้าไปอยู่ในเขตของชนชาวพื้นเมือง และคนนั้นมาจากทางแถบยุโรป ซึ่งนำประดิษฐ์ต่างๆมากด้วย ส่วนออสเตรีย และ แอฟริกา เป็นประเทศที่การประดิษฐ์ไม่ค่อยมีคนสนใจ
             ยุคปัจจุบัน (1350-ปัจจุบัน) มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ชิฟ มีการสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ จรวด เรือดำน้ำ อุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ มีการใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ และกระจายไปทั่วโลก แต่ก็ยังไม่ทั่วถึงและเท่ากันทั่วประเทศ โดยเฉพาะ มหาอำนาจอย่างอเมริกา ที่มีนักประดิษฐ์มากกว่าและมีความพร้อม ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลทำให้เกิดความก้าวหน้าเร็วขึ้น แล้วเปลี่ยนการทำงานเป็นการทำงานแบบองค์กร หรือทีมนั่นเอง
            สิ่งประดิษฐ์เกิดขึ้นเพราะมนุษย์เป็นผู้สร้างผู้พัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแบบผลงานด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อตอบสนอง ความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยสิ่งประดิษฐ์มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณเกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมและประเพณีทางศาสนาซึ่งมนุษย์เรานั้นก็คงมีการประดิษฐ์มาอย่างช้านานแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ว่าการประดิษฐ์นั้นก็อาจมาจาก สมัยดึกดำบรรพ์แล้วก็เป็นได้เพราะว่ามนุษย์ยุคหินในสมัยนั้นก็มีการประดิษฐ์อาวุธจากก้อนหินบ้างก็ว่านำมาเหลาให้แหลม บ้างก็ว่านำมาทำให้ร้อนแล้วจี้สัตย์ ต่างๆนา จึงบอกได้ว่าคนเราก็มีการประดิษฐ์มาตั้งแต่โบราณกาลแล้วเป็นต้นมาสิ่งประดิษฐ์จึงมาวิวัฒนาการมาอย่างเรื่องๆสืบทอดต่อมาเรื่อยๆ ดังที่เราศึกษาเราก็พบเจอว่ามนุษย์ยุคต่อมาคือมนุษย์ยุคสำริดก็มีการประดิษฐ์เหล็กมาทำเป็นอาวุธ โดยอาวุธนั้นคือสิ่งที่มีความแหลมคมมาก และเหมาะสมกับการล่าสัตว์ในยุคสมัยนั้นจนปัจจุบันอาวุธชิ้นนั้นมันก็คือ มีด หรือ ดาบ ที่เกิดในสมัยของยุคสำริดนั้นเองนอกจากการวิวัฒนาการข้างต้นแล้วนั้นยังมีการ วิวัฒนาการเป็นสิ่งต่าง รอบๆตัวเราไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และอื่นๆอีกมากมายก็ต่างล้วนเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ต่างก็เกิดขึ้นเพราะมนุษย์เป็นผู้ผลิต คิดค้นและวิจัยเองทั้งนั้น

และต่อมาเมื่อ นักวิชาการค้นพบว่าการประดิษฐ์นั้นเป็นพื้นฐานของการสร้างสิ่งของต่างๆนานา จึงได้มีการประชุม ร่วมทำการวิจัยและขอยื่นคำเสนอว่า ของบรรจุการประดิษฐ์เป็นวิชาพื้นฐานของการศึกษา ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้พวกเราก็มีวิชา งานประดิษฐ์เรียนกันอย่างสนุกสนาน เพราะเป็นวิชาที่สนุกสนาน คลายความเครียด ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน เกิดความคิดสร้างสรรค์มากมาย และทำให้ในปัจจุบันเกิดสิ่งประดิษฐ์มาใช้กันอย่างมากล้น นอกจากนั้นแล้วการประดิษฐ์ยังมีประโยชน์อีกหลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มรายได้ การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และอื่นอีกมากมายด้านการเพิ่มรายได้ ของการทำสิ่งประดิษฐ์นั้นก็ ต่างมีความแตกต่างกันไป เช่น การทำเสื้อผ้า การทำกระเป๋า การทำโคมไฟ และอื่นๆเป็นต้น และที่สำคัญแล้วคือสินค้าประเภท Hand make เพราะตอนนี้เป็นที่นิยมของการตลาด เพราะว่าเป็นสินค้าที่มีความละเอียดอ่อน มีความละมุนละไม มีความสวยงาม และที่สำคัญคือความแปลกใหม่และไม่ซ้ำใคร ตัวอย่างของสินค้า Hand make เช่น ผ้าทอ กระทง กระเป๋าถักทอ เป็นต้น การประดิษฐ์ที่บางอย่างไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แค่การ ถัก ทอ เพราะยังมีการประดิษฐ์อีก 1 ชนิดที่ไม่ต้อง ถัก ทอ คือ การประดิษฐ์โปรแกรม ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ที่ตอนนี้มีความนิยมกันอย่างแพร่หลายทำให้ ธุรกิจของการผลิต Software มีความเจริญเติบโตมากและเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีการสร้างรายได้อย่างไม่จำกัด ดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือประวัติและการวิวัฒนาการของสิ่งประดิษฐ์ที่ต่างก็มีความสำคัญต่างๆแตกต่างกันไป ก็อย่างที่เคยกล่าวข้างต้นว่า “จึงทำให้ในปัจจุบันเกิดสิ่งประดิษฐ์มาใช้กันอย่างมากล้น” จึงอยากให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ใช้ สิ่งประดิษฐ์ต่างๆตระหนักถึงสภาวะของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ที่มีการทิ้งขยะมูลฝอยมากมาย หรือเป็นการผลิตสิ่งของโดยใช้วัตถุดิบที่อาจเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ตอนนี้โลกของเราก็ได้เกิด สภาวะโลกร้อนจึงอยากใคร่ครวญ ผู้ผลิตรายยักษ์ใหญ่ ให่มีความตระหนักถึงสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดผลเสีย และใคร่ครวญต่อผู้บริโภค รวมถึงผู้ผลิต ให้มีความตระหนักอีกครั้งในด้านของการนำกลับมาใช้ใหม่ คือ การรีไซย์เคิล ซึ่งเป็นผลดี ในทุกๆด้าน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างบนโลกนี้จะเกิดแต่ผลดี หากทุกๆคน มีคุณธรรมในด้านของความพอเพียง


ความหมายของสิ่งประดิษฐ์
               สิ่งประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป,กลไกของเครื่องยนต์,ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของเช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น

               สิ่งประดิษฐ์ หรือ นวัตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะด้วยความฉลาดหรือบังเอิญ แล้วผู้ที่ประดิษฐ์สิ่งของ เรามักจะเรียกว่านักประดิษฐ์ (inventor) สิ่งประดิษฐ์คือสิ่งของต่างๆที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์เพื่อใช้ในการแสวงหาประโยชน์ หรือ อำนวยความสะดวกสบายต่างๆ

ความสำคัญของสิ่งประดิษฐ์
              สิ่งประดิษฐ์คืองานที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรในการสร้างชิ้นงาน แต่ใช้สมองกับ 2 มือและเป็นผลงานที่ต้องใช้ความอดทน ความรักในงาน ความคิดที่สร้างสรรค์ จินตนาการ ความละเอียดและที่สำคัญ คือความมีคุณค่าทางจิตใจของผู้สร้างงานประโยชน์คือเป็นงานที่จะมีคุณค่าสำหรับการอนุรักษ์ไว้ในภายหน้า และสามารถคิดต่อยอดจากการประดิษฐ์นั้นๆไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด งานประดิษฐ์บางชิ้นสามรถสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองและประเทศชาติได้ และประโยชน์อันมาจากการนำวัสดุเหลือใช้หรือที่ใครคิดไม่ถึงสามารถมาทำประโยชน์ได้อย่างมีคุณค่า สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

ลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ลักษณะของสิ่งประดิษฐ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งประดิษฐ์ทั่วไป
              เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่มีความเป็นมาจากบรรพบุรุษหรือท้องถิ่น กล่าวคือ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่บุคคลทั่วไปสามารถเรียนรู้และนำไปประดิษฐ์ได้โดยอาศัยการศึกษาจากตำรา เช่น ดอกไม้จากวัสดุเหลือใช้ หมวก ตุ๊กตา เครื่องเล่นต่าง ๆ และกรอบรูป เป็นต้น

2. สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นเอกลักษณ์ไทย
             เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหรือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีเฉพาะในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่วนมากจะเป็นการสืบทอดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวมาสู่ลูกหลาน สิ่งประดิษฐ์หลายอย่างทำขึ้นเพื่องานประเพณีทางศาสนา เช่น พานพุ่ม มาลัย เครื่องแขวน บายศรี และบางอย่างก็ทำขึ้นเพื่อความสวยงาม สนุกสนาน ภายในครอบครัว เช่น ว่าวไทย รถลาก ตุ๊กตา เป็นต้น

องค์ประกอบของสิ่งประดิษฐ์
          องค์ประกอบที่สำคัญของการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ มีดังนี้
                    1. เส้น เป็นสิ่งที่เกิดจากการเชื่อมต่อจุดให้เคลื่อนไปในทิศทางที่ต้องการจึงก่อให้เกิดรูปร่าง รูปทรง สัดส่วน พื้นที่ บริเวณและความรู้สึกที่แตกต่างกันดังนี้ในการออกแบบควรนึงถึงลักษณะเส้น

                    2. รูปร่าง เป็นส่วนที่แสดงถึงเส้นรอบนอกของรูปแบบชิ้นงานซึ่งเป็นลักษณะ2มิติ ซึ่งสื่อความหมายถึงความกว้างและความยาวไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมรูปวงกลมหรือรูปอิสระที่แสดงเนื้อที่ของผิวมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล

                    3. รูปทรง คือ ลักษณะของวัตถุที่มองเห็นเป็นรูป 3มิตินอกจากแสดงความกว้างความยาวแล้วยังมีความหนาลึกและความหนานูน เช่น ทรงกลม ทรงสามเหลี่ยมทรงกระบอก เป็นต้น

                   4. ขนาดและสัดส่วนของชิ้นงานเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเพราะขนาดของชิ้นงานที่ส่งผลถึงประโยชน์และการนำไปใช้งาน เช่น การออกแบบดอกไม้ประดิษฐ์เพื่อนำไปประดับมุมห้องถ้ามีขนาดเล็กเกินไปก็จะไม่เหมาะสม

                  5. สี หมายถึง ลักษณะที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นสีต่างกันสีเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกเมื่อมองเห็น เช่น ตื่นเต้น หนาวเย็น หรืออออบอุ่น นุ่นนวล หรือแข็งกระด้างดังนั้นจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่อของอิทธิพลของสีแต่ละสีและนำไปใช้ให้เหมาะสม

                 6. ลักษณะผิวของวัตถุ คือ คุณลักษณะภายนอกของวัตถุที่มีลักษณะแตกต่างกันตามลักษณะและชนิดของวัตถุ เช่น เรียบ มัน ขรุขระ หยาบ เป็นต้น และลักษณะพื้นผิวที่ปรากฏแก่สายตาจะมีผลต่อประสาทและความรู้สึกของผู้มอง

ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
                1. ฝึกให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มีรูปร่างแปลกใหม่และพัฒนางาน
ประดิษฐ์เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

                2. สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุต่างๆ ที่นำมาประกอบกันเป็นชิ้นงานสามารถที่จะใช้วัสดุอื่น
ทดแทนกันได้ และสามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

                3. ฝึกให้รู้จักการวางแผนทำงานอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนการปฏิบัติเป็นการสร้างระเบียบ
วินัยให้ตนเองและมีนิสัยรักในสิ่งประดิษฐ์

                4. ให้นักเรียนรู้จักใช้และดูแลรักษาเครื่องมือในสิ่งประดิษฐ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
กับประเภทของสิ่งประดิษฐ์

               5. ฝึกให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิและมีความสุขในการ
สร้างสรรค์ชิ้นงานประดิษฐ์ของตนเอง

              6. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการประหยัดสามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์มาก
ที่สุดโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนมากนัก

              7. เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้มีการสืบทอดและพัฒนาต่อไป จากภูมิ
ปัญญาเดิมสู่การเรียนรู้ที่เป็นองค์รวมและเป็นผลงานของคนไทย

              8. สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประดิษฐ์โดยการนำออกไปจำหน่ายในโอกาสต่างๆและสร้าง
เป็นอาชีพได้ในอนาคต

              9. เกิดความภาคภูมิใจในชิ้นงานของตนเองทำให้บุคคลยอมรับในความสามารถของตนเอง
ในระดับหนึ่งสะดวกสบายต่างๆ

หลักการออกแบบของสิ่งประดิษฐ์
              การประดิษฐ์ชิ้นงานจำเป็นต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อการใช้ประโยชน์ทางด้านร่างกายและด้านจิตใจคือประโยชน์ในการใช้สอยและความสวยงามด้านศิลปวัฒนธรรม แบบของงานประดิษฐ์เกิดจากการเลียนแบบธรรมชาติจินตนาการและความสะดวกในการใช้งานและมีการดัดแปลงรูปแบบให้เหมาะสมกับสมัยนิยม

ความหมายของการออกแบบ
             การออกแบบ หมายถึง การใช้ความคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานให้สมบูรณ์และความสามารถนำความคิดขึ้นมาปฏิบัติเป็นชิ้นงานได้เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งด้านการใช้สอยและด้านศิลปะความสวยงามหรือจิตใจ
             การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา เช่น เราจะทำเก้าอี้นั่งซักตัวจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอนโดยต้องเริ่มเลือกวัสดุที่จะใช้ทำเก้าอี้นั้นจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม วิธีการต่อยึดนั้นควรใช้กาว ตะปูนอต หรือใช้ข้อต่อแบบใด คำนวณสัดส่วนการใช้งานให้เหมาะสม ความแข็งแรงของเก้าอี้นั่งมากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม และทนทานกับการใช้งาน เป็นต้น





















บทที่1 บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน

          การประหยัดพลังงานในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในการประหยัดพลังงานก็มีหลายแนวทางที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน เช่น การเปิดเครื่องปรับอาการในอุณหภูมิที่ 25 องศา การปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ เป็นต้น รวมไปถึงการช่วยกันรณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงานขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญของการประหยัดพลังงาน

               ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังคงอยู่ในขั้นวิกฤติเราเป็นหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเกือบสองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ประชาชนคนไทยทั้งหลายต่างก็มีความห่วงใยในประเทศชาติ มีความรักชาติที่เข้มข้น และอยากที่จะช่วยชาติ ซึ่งนับว่าเป็นความสามัคคีที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ เพราะจะเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ในยามคับขันคนไทยพร้อมจะช่วยชาติ บ้างก็นำเงินดอลล่าร์มาบริจาค  บ้างก็สละเงินทองทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อให้รัฐบาลนำไปใช้หนี้ แต่ยังมีอีกวิธีที่ทุกๆคนสามารถช่วยชาติได้   เช่นกัน นั่นก็คือ การลดการใช้พลังงานอย่างฉับพลันทันที  ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้น้ำมันลง   ลดใช้ไฟฟ้าลง หรือลดใช้น้ำลงปัจจุบัน เราต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศถึงปีละเกือบสามแสนล้านบาท มากถึงหนึ่งในสามของหนี้ที่เรามีอยู่พลังงานที่เราใช้มากมายขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้
พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ใช้มากเกินความจำเป็น ขาดความเอาใจใส่ รอบคอบ ไม่ได้คิดก่อนใช้ ทำให้เกิดการรั่วไหล สูญเปล่าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  จริงๆ แล้ว  หากเรารอบคอบกันสักนิดคิดก่อนใช้ เราจะประหยัดพลังงานลงได้อีกอย่างน้อยก็ร้อยละ 10นั่นหมายถึง การประหยัดเงินที่ต้องใช้จ่ายออกไปนอกประเทศเกือบสามหมื่นล้านบาททีเดียว
          ลักษณะของดวงโคมไฟ คือ อุปกรณ์ส่องสว่างอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ประกอบคู่ไปกับหลอดไฟ คือ ดวงโคมไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ในการยึดติด ป้องกัน และช่วยการกระจายแสงของหลอดไฟ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

1. ดวงโคมไฟเพดาน
          เป็นดวงโคมไฟที่ติดเหนือศีรษะ บริเวณฝ้าเพดาน หรือห้องลงมาจากเพดาน เช่น โคมไฟห้อยเพดานหรือไฟช่อระย้า (Pendant) ที่มีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทั้งที่ทำจากแก้ว พลาสติก โลหะ หรือเซรามิค มีทั้งแบบโคมไฟธรรมดา (Shade) ราคาไม่แพงไปจนถึงโคมไหแชนเดอเลียร์ (Chandelier) ที่ประกอบไปด้วยหลอดไฟเล็ก ๆ มากมายสวยงามให้แสงสว่างและความร้อนมากกินไฟมาก ราคาแพง ไฟติดเพดาน(Ceiling-Mounted Light)มีทั้งแบบดวงโคมที่ยึดติดกับฝ้าเพดาน ประกอบไปด้วยที่ครอบ หรือโป๊ะทำจากแก้ว หรือ พลาสติกคลุมหลอดไฟเพื่อช่วยในการกระจายแสง เช่น โคมไฟ โป๊ะกลมสำหรับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือโคมไฟซาลาเปาสำหรับหลอดไส้ เป็นต้น และแบบที่ติดตั้งโดยเจาะฝ้าเพดานฝังซ่อนดวงโคมไว้ภายในที่เราเรียกกันว่าไฟดาวน์ไลท์ (Down light) ซึ่งให้แสงสว่างได้ดี สามารถเลือกใช้ชนิดของหลอดไห ลักษณะของแสงที่ส่องลงมา และทิศทางการส่องของสำแสงได้หลายแบบเป็นได้ทั้งไฟพื้นฐานและไฟสร้างบรรยากาศ

2. ดวงโคมไฟผนัง
         เป็นชนิดที่ใช้ยึดติดกับผนัง มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบเช่นกัน การกระจายแสงส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับลักษณะของโป๊ะ มีทั้งแบบให้แสงส่องออกมาตรง ๆ หรือแบบสะท้อนเข้าผนัง เพื่อสร้างบรรยากาศให้กับห้อง เป็นต้น

3. ดวงโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ
        เป็นดวงโคมไฟแบบลอยตัวที่ช่วยในการให้แสงสว่างตามจุดต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น ในบริเวณที่นั่งอ่านหนังสือโต๊ะทำงาน หรือ โต๊ะหัวเตียง และ ยังใช้เป็นของประกอบ การตกแต่งในห้องชุดร่วมกับชุดเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดทานอาหาร เป็นต้น มีรูปแบบและวัสดุให้เลือกมากมายหลายหลายราคา

        การตัดสินใจเลือกใช้ดวงโคมชนิดใด นอกเหนือไปจากรูปแบบการใช้งานและความสว่างของดวงโคมแล้ว สิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจให้มากคือ การซ่อมแซมและดูแลรักษา ไม่ว่าเรื่องการเปลี่ยนหลอดไหหรืออุปกรณ์เมื่อหมดอายุหรือชำรุดเสียหายโคมไฟบางประเภทมีการออกแบบซ่อนอุปกรณ์ประกอบดวงโคมไว้อย่างมิดชิด การถอดเปลี่ยนทำได้ลำบาก หรือดวงโคมบางชนิด หาอะไหล่มาเปลี่ยนได้ยากโดยเฉพาะดวงโคมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ รวมไปถึง การติดตั้งดวงโคมที่เน้นความสวยงามเป็นหลัก จนมองข้ามในเรื่องของการดูแลรักษาในภายหลัง ที่พบเห็นได้มากที่สุดคือ โคมไฟ
ช่อระย้าที่ติดตั้งบริเวณโถงบันได หรือ ในจุดที่มีฝ้าเพดานสูงจน ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปดูแลเช็ดล้างหรือเปลี่ยนหลอดไฟได้ ที่สำคัญ อย่าลืมใช้ไฟฟ้าอย่างมีสติ เปิดใช้เท่าที่จำเป็น และ ปิดสวิตช์ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
ในอดีตคนเราจะใช้แสงสว่างจากวงอาทิตย์เป็นหลักในเวลากลางวัน และกลางคืนก็จะใช้แสงสว่างจากตะเกียงเพื่อให้แสงสว่างในการทำกิจกรรมในเวลากลางคืน แต่ในปัจจุบันคนเราก็จะหันมาใช้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้านีออน โคมไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ใช้พลังงานโดยตรง เพื่อความสบายในการใช้งานโดยไม่ต้องเติมเชื่อเพลิงเพื่อให้เกิดแสงสว่าง แต่ว่าในการเกิดแสงสว่างที่มาจากหลอดนีออนหรือโคมไฟฟ้าที่มาจากการใช้พลังงานโดยตรงทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานอย่างมาก จึงก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองทั้งค่าใช้จ่ายและพลังงาน
ทางผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญของพลังงาน จึงคิดค้นโดมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงานที่เราต้องสูญเสียไป จึงจัดทำโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน


วัตถุประสงค์ของโครงงาน
       1.เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลง
       2.เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน
       3.เพื่อใช้ในการพัฒนาให้มีประสิทธ์ภายยิ่งขึ้นต่อไป

เป้าหมายของโครงงาน
     เชิงปริมาณ
         โคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด
     เชิงคุณภาพ
           1.ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน
           2.ช่วยลดภาวะโลกร้อน
           3.ช่วยให้เกิดการพัฒนาโคมไฟให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบเขตของเนื้อหา
           1.ความเป็นมาของสิ่งประดิษฐ์
           2.ความหมายของสิ่งประดิษฐ์
           3.ความสำคัญของสิ่งประดิษฐ์
           4.ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
           5.หลักการออกแบบของสิ่งประดิษฐ์
           6.ความหมายของการออกแบบ
           7.องศ์ประกอบของสิ่งประดิษฐ์
           8.ลักษณะของสิ่งประดิษฐ์


นิยามศัพท์เฉพาะ
             โคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หมายถึง อุปกรณ์กลไกที่ทำให้เกิดแสงสว่างโดยมีการรับแสงหรือพลังงานผ่านทางแผงโซลาเซลล์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดความประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและพลังงาน

ประโยชน์ที่ได้รับ
        1.ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน
        2.ช่วยลดภาวะโลกร้อน
        3.ช่วยให้เกิดการพัฒนาโคมไฟให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น