วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่1 บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน

          การประหยัดพลังงานในปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ในการประหยัดพลังงานก็มีหลายแนวทางที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน เช่น การเปิดเครื่องปรับอาการในอุณหภูมิที่ 25 องศา การปิดไฟดวงที่ไม่ใช้ เป็นต้น รวมไปถึงการช่วยกันรณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงานขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญของการประหยัดพลังงาน

               ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังคงอยู่ในขั้นวิกฤติเราเป็นหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศเกือบสองหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ประชาชนคนไทยทั้งหลายต่างก็มีความห่วงใยในประเทศชาติ มีความรักชาติที่เข้มข้น และอยากที่จะช่วยชาติ ซึ่งนับว่าเป็นความสามัคคีที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ เพราะจะเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ในยามคับขันคนไทยพร้อมจะช่วยชาติ บ้างก็นำเงินดอลล่าร์มาบริจาค  บ้างก็สละเงินทองทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อให้รัฐบาลนำไปใช้หนี้ แต่ยังมีอีกวิธีที่ทุกๆคนสามารถช่วยชาติได้   เช่นกัน นั่นก็คือ การลดการใช้พลังงานอย่างฉับพลันทันที  ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้น้ำมันลง   ลดใช้ไฟฟ้าลง หรือลดใช้น้ำลงปัจจุบัน เราต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศถึงปีละเกือบสามแสนล้านบาท มากถึงหนึ่งในสามของหนี้ที่เรามีอยู่พลังงานที่เราใช้มากมายขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการใช้
พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ใช้มากเกินความจำเป็น ขาดความเอาใจใส่ รอบคอบ ไม่ได้คิดก่อนใช้ ทำให้เกิดการรั่วไหล สูญเปล่าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  จริงๆ แล้ว  หากเรารอบคอบกันสักนิดคิดก่อนใช้ เราจะประหยัดพลังงานลงได้อีกอย่างน้อยก็ร้อยละ 10นั่นหมายถึง การประหยัดเงินที่ต้องใช้จ่ายออกไปนอกประเทศเกือบสามหมื่นล้านบาททีเดียว
          ลักษณะของดวงโคมไฟ คือ อุปกรณ์ส่องสว่างอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ประกอบคู่ไปกับหลอดไฟ คือ ดวงโคมไฟ อุปกรณ์ที่ใช้ในการยึดติด ป้องกัน และช่วยการกระจายแสงของหลอดไฟ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

1. ดวงโคมไฟเพดาน
          เป็นดวงโคมไฟที่ติดเหนือศีรษะ บริเวณฝ้าเพดาน หรือห้องลงมาจากเพดาน เช่น โคมไฟห้อยเพดานหรือไฟช่อระย้า (Pendant) ที่มีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทั้งที่ทำจากแก้ว พลาสติก โลหะ หรือเซรามิค มีทั้งแบบโคมไฟธรรมดา (Shade) ราคาไม่แพงไปจนถึงโคมไหแชนเดอเลียร์ (Chandelier) ที่ประกอบไปด้วยหลอดไฟเล็ก ๆ มากมายสวยงามให้แสงสว่างและความร้อนมากกินไฟมาก ราคาแพง ไฟติดเพดาน(Ceiling-Mounted Light)มีทั้งแบบดวงโคมที่ยึดติดกับฝ้าเพดาน ประกอบไปด้วยที่ครอบ หรือโป๊ะทำจากแก้ว หรือ พลาสติกคลุมหลอดไฟเพื่อช่วยในการกระจายแสง เช่น โคมไฟ โป๊ะกลมสำหรับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือโคมไฟซาลาเปาสำหรับหลอดไส้ เป็นต้น และแบบที่ติดตั้งโดยเจาะฝ้าเพดานฝังซ่อนดวงโคมไว้ภายในที่เราเรียกกันว่าไฟดาวน์ไลท์ (Down light) ซึ่งให้แสงสว่างได้ดี สามารถเลือกใช้ชนิดของหลอดไห ลักษณะของแสงที่ส่องลงมา และทิศทางการส่องของสำแสงได้หลายแบบเป็นได้ทั้งไฟพื้นฐานและไฟสร้างบรรยากาศ

2. ดวงโคมไฟผนัง
         เป็นชนิดที่ใช้ยึดติดกับผนัง มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบเช่นกัน การกระจายแสงส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับลักษณะของโป๊ะ มีทั้งแบบให้แสงส่องออกมาตรง ๆ หรือแบบสะท้อนเข้าผนัง เพื่อสร้างบรรยากาศให้กับห้อง เป็นต้น

3. ดวงโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ
        เป็นดวงโคมไฟแบบลอยตัวที่ช่วยในการให้แสงสว่างตามจุดต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น ในบริเวณที่นั่งอ่านหนังสือโต๊ะทำงาน หรือ โต๊ะหัวเตียง และ ยังใช้เป็นของประกอบ การตกแต่งในห้องชุดร่วมกับชุดเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดทานอาหาร เป็นต้น มีรูปแบบและวัสดุให้เลือกมากมายหลายหลายราคา

        การตัดสินใจเลือกใช้ดวงโคมชนิดใด นอกเหนือไปจากรูปแบบการใช้งานและความสว่างของดวงโคมแล้ว สิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจให้มากคือ การซ่อมแซมและดูแลรักษา ไม่ว่าเรื่องการเปลี่ยนหลอดไหหรืออุปกรณ์เมื่อหมดอายุหรือชำรุดเสียหายโคมไฟบางประเภทมีการออกแบบซ่อนอุปกรณ์ประกอบดวงโคมไว้อย่างมิดชิด การถอดเปลี่ยนทำได้ลำบาก หรือดวงโคมบางชนิด หาอะไหล่มาเปลี่ยนได้ยากโดยเฉพาะดวงโคมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ รวมไปถึง การติดตั้งดวงโคมที่เน้นความสวยงามเป็นหลัก จนมองข้ามในเรื่องของการดูแลรักษาในภายหลัง ที่พบเห็นได้มากที่สุดคือ โคมไฟ
ช่อระย้าที่ติดตั้งบริเวณโถงบันได หรือ ในจุดที่มีฝ้าเพดานสูงจน ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปดูแลเช็ดล้างหรือเปลี่ยนหลอดไฟได้ ที่สำคัญ อย่าลืมใช้ไฟฟ้าอย่างมีสติ เปิดใช้เท่าที่จำเป็น และ ปิดสวิตช์ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
ในอดีตคนเราจะใช้แสงสว่างจากวงอาทิตย์เป็นหลักในเวลากลางวัน และกลางคืนก็จะใช้แสงสว่างจากตะเกียงเพื่อให้แสงสว่างในการทำกิจกรรมในเวลากลางคืน แต่ในปัจจุบันคนเราก็จะหันมาใช้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้านีออน โคมไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ใช้พลังงานโดยตรง เพื่อความสบายในการใช้งานโดยไม่ต้องเติมเชื่อเพลิงเพื่อให้เกิดแสงสว่าง แต่ว่าในการเกิดแสงสว่างที่มาจากหลอดนีออนหรือโคมไฟฟ้าที่มาจากการใช้พลังงานโดยตรงทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานอย่างมาก จึงก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองทั้งค่าใช้จ่ายและพลังงาน
ทางผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญของพลังงาน จึงคิดค้นโดมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงานที่เราต้องสูญเสียไป จึงจัดทำโคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน


วัตถุประสงค์ของโครงงาน
       1.เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลง
       2.เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน
       3.เพื่อใช้ในการพัฒนาให้มีประสิทธ์ภายยิ่งขึ้นต่อไป

เป้าหมายของโครงงาน
     เชิงปริมาณ
         โคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด
     เชิงคุณภาพ
           1.ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน
           2.ช่วยลดภาวะโลกร้อน
           3.ช่วยให้เกิดการพัฒนาโคมไฟให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบเขตของเนื้อหา
           1.ความเป็นมาของสิ่งประดิษฐ์
           2.ความหมายของสิ่งประดิษฐ์
           3.ความสำคัญของสิ่งประดิษฐ์
           4.ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
           5.หลักการออกแบบของสิ่งประดิษฐ์
           6.ความหมายของการออกแบบ
           7.องศ์ประกอบของสิ่งประดิษฐ์
           8.ลักษณะของสิ่งประดิษฐ์


นิยามศัพท์เฉพาะ
             โคมไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หมายถึง อุปกรณ์กลไกที่ทำให้เกิดแสงสว่างโดยมีการรับแสงหรือพลังงานผ่านทางแผงโซลาเซลล์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดความประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและพลังงาน

ประโยชน์ที่ได้รับ
        1.ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน
        2.ช่วยลดภาวะโลกร้อน
        3.ช่วยให้เกิดการพัฒนาโคมไฟให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น